Best Practice
กศน.ตำบลอวน
กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ
บ้านห้วยหาด-หลักลาย
เลขที่ 28 หมู่ที่ 7 ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน 55120
เลขที่ 28 หมู่ที่ 7 ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน 55120
ความสำคัญของปัญหาในการรวกกลุ่มอาชีพ
ชุมชนบ้านห้วยหลักลายและบ้านห้วยหาด
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจ
ในอดีตเคยเป็นฐานที่ตั้งของผู้ก่อการร้าย มีสงครามและการสู้รบเกิดขึ้น
จนกระทั่งได้มีการยกเลิกสงครามในปี 2526 ผู้คนที่มาอาศัยอยู่ล้วนเป็นผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่พื้นที่แห่งนี้
ต่อมาได้มีพัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟฟ้า ประปา
จนกลายเป็นเป็นชุมชนห้วยหาด - ห้วยหลักลายนับตั้งแต่นั้นมา
ชุมชนบ้านห้วยหาดและห้วยหลักลายในอดีตเคยประสบกับปัญหาการถูกเอารัดเอา
เปรียบในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ได้มีการตัดไม้จำนวนมากออกนอกพื้นที่โดยผู้
มีอำนาจของรัฐ เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารแหล่งกำเนิดของน้ำถูกทำลาย
ชาวบ้านก็ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน
ทางชุมชนทั้งสองหมู่บ้านซึ่งมีอาณาเขตพื้นที่ติดกันและอาศัยผืนป่าและผืนน้ำ
ในการดำรงชีวิตร่วมกัน จึงได้มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามต่อไป
โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน
จนทำให้ชุมชนสามารถอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะเห็นได้จากการดูแลรักษาป่าชุมชน พื้นที่กว่า 10,000 ไร่ และมีแหล่งอนุรักษ์วังปลาในลำน้ำยาว ห้วยหาดและห้วยหลักลาย
นอกจากนี้คนในชุมชนยังได้พัฒนาศักยภาพและภูมิปัญญาของตนเองในด้านอื่นๆ ตามมา เช่น
เกิดการจัดการป่าชุมชน แหล่งน้ำ วังปลา เกษตรอินทรีย์
เกิดกลุ่มอาชีพการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ การปลูกผักปลอดสารพิษ และกลุ่มอื่นๆ
อีกมากมาย จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นชุมชนตัวอย่างของตำบลก็ว่าได้ ปัจจุบันชุมชนทั้ง
2 ชุมชน มีความโดดเด่นในเรื่องอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่า แหล่งน้ำ
ตลอดจนทัศนียภาพที่สวยงามของขุนเขา
โดยเฉพาะทุนทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่สามารถพัฒนาต่อไปให้เป็นแหล่งท่อง
เที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ เช่น การมีโป่งนก แห่งเดียวของจังหวัดน่าน
อีกทั้งยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมายหลาย
แห่งของจังหวัดน่าน เช่น บ่อเกลือ ศูนย์พัฒนาตามพระราชดำริภูฟ้า เขตผ่อนปรนชายแดน
ไทย – ลาว นอกจากนี้สองข้างตลอดเส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวดังกล่าวยังเต็มไปด้วย
ทัศนียภาพที่สวยงามเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาที่นักท่องเที่ยวนิยม
แวะท่องเที่ยวอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ดอยภูคา ต้นปาล์มเต่าร้างล้านปี
ชุมชนบ้านห้วยหลักลายเป็นเส้นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมาก
มายหลายแห่งของจังหวัดน่านตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ประกอบกับการมีศักยภาพทางด้านทุนทางธรรมชาติมากมายที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวได้ รวมถึงทุนทางสังคมที่คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างขึ้นมา
เหตุผลดังกล่าวทำให้ชุมชนบ้านห้วยหาดและห้วยหลักลายมีความสนใจและเล็งเห็น
ศักยภาพของชุมชนที่สามารถเป็นหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่จะ
ทำให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ จึงต้องการร่วมกันเรียนรู้และใช้กระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมา
เพื่อหารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืนโดยใช้บทเรียน
ภูมิปัญญาของชุมชนในการพึ่งตนเองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนา
ซึ่งจะทำให้ชุมชนสามารถใช้ภูมิปัญญาสู่การจัดการการท่องเที่ยวได้อย่าง
ยั่งยืนและนำสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งต่อไปได้ในอนาคต
โดยการรวมกลุ่มแม่บ้านในการทอผ้าและการย้อมสีผ้าธรรมชาติขึ้น
เพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่คนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี
และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การย้อมสีธรรมชาติ
เป็นการลดการใช้สารเคมี
ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง
ที่เกิดจากการสะสมของสารเคมี จากการย้อมผ้าด้วยสีเคมี ที่มีกลิ่นฉุน แสบจมูก
ทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นโรคพิษสำแดง ไม่สามารถที่จะย้อมไหมต่อไปได้
จนทำให้กลุ่มสตรี แม่บ้านหันกลับมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ
เพราะสีธรรมชาติเป็นสีที่บริสุทธิ์ ไม่มีพิษต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
และผ้าที่ได้มีความโดดเด่นเฉพาะ เวลาทอขึ้นเงา สีไม่ตก ใส่สบาย
แต่ขั้นตอนการทำยุ่งยากและวุ่นวาย ต้องอาศัยทักษะ ความอดทน ความชำนาญ
และประสบการณ์ ในการย้อมสีแต่ครั้งให้เหมือนกัน
ปัจจุบันกลุ่มสตรีแม่บ้าน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก
กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านที่มีความสนใจในการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ
โดยการพัฒนาเป็นผ้ามัดย้อม ให้เด็กมีจินตนาการ ออกแบบลาดลาย สีสัน
ตามแนวความคิดของตนเอง สร้างสรรค์ผลงานลงบนแผ่นผ้า
และอนุรักษ์รักษาภูมิปัญญาของชุมชนให้คงอยู่สืบไปการจัดกลุ่มของสีธรรมชาติชนิดต่างๆ
แยกเป็นโทนสี ดังนี้
โทนสีแดง ได้จากครั่ง รากยอป่า มะไฟ แก่น เมล็ดคำแสด แก่นฝาง เปลือกสมอ ไม้เหมือด เม็ดสะตีใบสัก เปลือกสะเดา ดอกมะลิวัลย์ แก่นกะหล่ำ แก่นประดู่ เปลือกส้มเสี้ยว
โทนสีเหลือง ได้จาก หัวขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย แก่นไม้พุด ดอกกรรณิการ์ รากฝาง ใบมะขาม ผลดิบมะตูม เปลือกมะขามป้อม เปลือกผลมังคุด ดอกผกากรอง เปลือกประโหด แก่นเข ใบเสนียด แก่นแค แก่นฝรั่ง หัวไพร
แก่นสุพรรณิการ์ แกนต้นปีบ
ต้นมหากาฬ ใบขี้เหล็ก แก่นขนุน ลูกมะตาย ต้นสะตือ ใบเทียนกิ่ง
โทนสีน้ำตาล ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกสีเสียด เปลือกพยอม เปลือกผลทับทิม เปลือกคาง เปลือกโป่งขาว เปลือกสนทะเล เปลือกแสมดำ เปลือกนนทรี เปลือกฝาดแดง เปลือกมะหาด เปลือกเคี่ยม เปลือกติ้วขน ผลอาราง แก่นคูณ
โทนสีน้ำเงิน ได้จาก ใบบวบ ใบหูกวาง เปลือกเพกา เปลือกต้นมะริด เปลือกสมอ เปลือกกระหูด ใบเลี่ยน เปลือกสมอภิเภก ใบตะขบ
โทนสีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ ผลสมอภิเภก ใบกระเม็ง ผลมะกอกเลื่อม เปลือกรกฟ้าผลตับเต่า เปลือกมะเขือเทศ
วิธีการย้อมสีผ้าธรรมชาติ
ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ดังนี้
1. เตรียมวัตถุดิบให้สี เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ กิ่ง ก้านใบ แก่นใบ ผลไม้ รากไม้ ที่ให้สีในโทนที่ต้องการมาจำนวนพอประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ หม้อที่ใช้ต้ม และจำนวนผ้าที่ต้องการย้อมด้วย นำวัตถุดิบดังกล่าวมาหั่นเล็กๆ ขนาดพอเหมาะกับภาชนะต้ม
2. เตาขนาดใหญ่ หรือก้อนเส้าที่สูงเล็กน้อยเพื่อตั้งหม้อต้มน้ำ พร้อมกับถ่านหรือฝืนที่จะก่อไฟ
3. ผ้าฝ้าย ขนาดตามต้องการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้
4. หนังยาง เชือก ฟาง หรือ เข็มกับด้วย เพื่อเอาไว้มัดลวดลาย
5. ปีบ กะละมังหรือหม้อขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ต้มสีย้อมผ้าจาก ธรรมชาติ
6. ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับใส่หรือห่อวัตถุดิบที่ให้สี เพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ กระจายไปติดกับผ้าที่เราจะย้อม
7. ไม้ไผ่ผ่าซีกแบนเรียบ ไม้ไอศกรีม ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อ เอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้าเพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ
8. เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น
เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ดังนี้
1. เตรียมวัตถุดิบให้สี เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ กิ่ง ก้านใบ แก่นใบ ผลไม้ รากไม้ ที่ให้สีในโทนที่ต้องการมาจำนวนพอประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ หม้อที่ใช้ต้ม และจำนวนผ้าที่ต้องการย้อมด้วย นำวัตถุดิบดังกล่าวมาหั่นเล็กๆ ขนาดพอเหมาะกับภาชนะต้ม
2. เตาขนาดใหญ่ หรือก้อนเส้าที่สูงเล็กน้อยเพื่อตั้งหม้อต้มน้ำ พร้อมกับถ่านหรือฝืนที่จะก่อไฟ
3. ผ้าฝ้าย ขนาดตามต้องการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้
4. หนังยาง เชือก ฟาง หรือ เข็มกับด้วย เพื่อเอาไว้มัดลวดลาย
5. ปีบ กะละมังหรือหม้อขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ต้มสีย้อมผ้าจาก ธรรมชาติ
6. ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับใส่หรือห่อวัตถุดิบที่ให้สี เพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ กระจายไปติดกับผ้าที่เราจะย้อม
7. ไม้ไผ่ผ่าซีกแบนเรียบ ไม้ไอศกรีม ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อ เอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้าเพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ
8. เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น