


กศน.ตำบลอวน
เป็นศูนย์การเรียนชุมชนที่รับผิดชอบให้บริการและจัดการเรียนการสอนทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาตามอัธยาศัยและงานภาคีเครือข่ายให้แก่ชุมชนทั้งทั้งหมด 11 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อผู้นำ
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
รวม
|
|
ชาย
|
หญิง
|
|||||
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
|
บ้านไร่
บ้านทุ่งฆ้อน
บ้านน้ำยาว
บ้านทุ่งกลาง
บ้านกอก
บ้านทุ่งเฮ้า
บ้านห้วยหาด
บ้านหลักลาย
บ้านไร่พัฒนา
บ้านดอนน้ำยาว
บ้านทุ่งใหม่
|
นายจรัส อุดนัน
นายสมพงษ์ ญาณะคำ
นายสุบรรณ ณรินทร์
นายบุญชื่น วงค์สุยะ
นายเดช หน่อไชย
นายเอกพงศ์ โกศิริ
นายประชุม ล้วนปวน
นายล้วน สุขสอน
นายบุญธรรม จันขัน
นายลอย พรมคำ
นายวิโรจน์ อุดนัน
|
201
155
157
147
129
132
31
27
195
187
117
|
315
278
289
245
231
261
59
47
341
338
215
|
318
261
265
257
214
217
50
38
301
330
222
|
723
คน
439
คน
554
คน
502
คน
445
คน
478
คน
109
คน
85
คน
641
คน
668
คน
437
คน
|
4.2 ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำนานตำบลอวน
ตำบลอวนเดิมชื่อว่า “เมืองอ้วน” เพราะมีประชากรจำนวนมากและมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์มีตำนานเล่าขานกันต่อมาว่า
ได้มีปลารูปร่างประหลาดตัวโตมหึมาได้ปรากฏตัวขึ้นที่ลำน้ำอวน
ปลาตัวนั้นมีผักกูดงอกออกมาที่กลางหัว ชาวเมืองอวนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าและคนแก่
จึงพากันไปดูปลาตัวนั้นและบังเอิญปลาตัวนั้นไปติดอยู่ที่ลี้ (ที่ดักจับปลา)
เมื่อมีคนมาดูเป็นจำนวนมาก ปลาเกิดตกใจแล้วดิ้นจนหางฟาดน้ำอย่างแรง
ทำให้ตลิ่งพังลงมา ทำให้คนที่มาดูตกลงไปในลำน้ำอวนที่กำลังไหลเชี่ยวกลาก
ทำให้เสียชีวิตเกือบหมด เหลือรอดเพียงครอบครัวเดียว คือครอบครัวนายถึง-นางต่อม วงสุยะ จึงเปลี่ยนชื่อจาก “ เมืองอ้วน ” มาเป็น “ เมืองอวน ”เพราะมีจำนวนคนน้อยลง
เวลาต่อมาได้มีคนอพยพมาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น
คำขวัญตำบลอวน
“ เมืองบรรยากาศดี ประเพณีงาม
ลือนามส้มเขียวหวาน
หลากพันธุ์ไม้ป่า
งามตาน้ำตกตาดหลวง ”
ตำบลอวน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ระหว่างเส้นลุติจูดที่ 18-46 องศาเหนือ และเส้นละติจูดที่ 100 องศาตะวันออก
อยู่ห่างจากอำเภอปัว ประมาณ 25 กิโลเมตร
และตำบลอวนมีเนื้อทื่ทั้งหมด 100,140
ไร่หรือประมาณ 154
ตารางกิโลเมตรและแบ่งพื้นที่ใช้ในการดำรงชีวิตดังนี้ พื้นที่ราบ 61 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.11 พื้นที่น้ำ 17 ตารางกิโลเมตร
คิดเป็นร้อยละ 11.04 และพื้นที่ป่า 86 ตารางกิโลเมตร
คิดเป็นร้อยละ 55.85
และมีหมู่บ้านในพื้นที่จำนวน 11 หมู่บ้าน
ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านน้ำไคร้
ตำบลยม อำเภอท่าวังผา
ทิศใต้ ติดกับ บ้านน่านมั่นคง ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านยอดดอยพัฒนา ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับพื้นที่ราบ
ที่ตั้งของหมู่บ้านจะอยู่ในที่ราบระหว่างภูเขาและแนวยาวตามพื้นที่ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย
ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน
มี 3
ฤดู
· ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม
· ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - เดือนพฤศจิกายน
· ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์
4.3 สภาพชุมชน
ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลอวน ประกอบอาชีพทางการเกษตรทำสวน ทำนา
ทำไร่ และปลูกพืชไร่ เช่นข้าว ข้าวโพด
ถั่วลิสง สวนมะขาม เป็นต้น
สภาพชุมชนทั้ง 11 หมู่บ้านมีดังนี้
บ้านไร่สามัคคี หมู่ที่
1 ต.อวน
อ.ปัว จ.น่าน
ได้ก่อตั้งขึ้นในปีใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่นอนชัดเจน นอกจากเป็นคำบอกเล่าต่อกันมา ไม่มีการบันทึกเก็บไว้เป็นหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าได้รวมตัวเป็นหมู่บ้านมานานแล้ว
ในสมัยก่อนนั้นเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตที่มีการต่อสู้ของลัทธิคอมมิวนิสต์ การคมนาคมติดต่อเป็นไปด้วยความยากลำบาก ประชาชนมีฐานะยากจน ดำรงชีวิตส่วนใหญ่โดยการหาของหาของป่า มีโรคภัยไข้เจ็บมาก แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น การคมนาคม การสื่อสารก้าวหน้าทันสมัยขึ้น และประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ต่อมาทางราชการได้แบ่งเขตการปกครองแยกบ้านไร่สามัคคีหมู่ที่
1 ออกเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง คือบ้านไร่พัฒนาหมู่ที่ 9
มีประชากรทั้งหมด 629 คน ชาย 31 1 คน หญิง 318 คน และมีนายจรัส อุดนัน เป็นกำนันตำบลอวน
บ้านทุ่งฆ้อน หมู่ที่
2 ตำบลอวน
อำเภอปัว จังหวัดน่าน ไม่ปรากฏหลักฐานว่าบ้านทุ่งค้อน เริ่มก่อตั้งเมื่อใด แต่จากการสอบถามผู้สูงอายุหลายท่าน พ่อกำนันค่ายคำ นรินทร์
(อดีตกำนันตำบลอวน) พ่อหลางอี พรมคำ
พ่อหลวงเหลา ปัญญาขันธ์ (ผู้อาวุโสแห่งบ้านทุ่งฆ้อน) พ่อหนานสมัย
นรินทร์ พอสรุปได้ดังนี้บ้านทุ่งค้อน จะมีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี เพราะบิดาของพ่อหลวงเหลา ปัญญาขันธ์
เป็นคนบ้านทุ่งค้อนดั้งเดิม
และขณะนี้ท่านมีอายุ 82 ปี
(ปี 2550) และมีประชากรจำนวน 526 คน ชาย 271 คน หญิง 255 คน
และมีนายสมพงษ์ ญาณะคำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านทุ่งฆ้อนในอดีตประกอบด้วย 3 หย่อมบ้าน
ดังนี้
1. บ้านทุ่งฆ้อน
(ที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบัน)
2.
บ้านใหม่
มีที่ตั้งติดอยู่กับลำน้ำยาว
ทางทิศตะวันตกของบ้านน้ำยาว
หมู่ที่ 3 ประมาณ
500
เมตรและห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ
1 กิโลเมตร
3.
บ้านท่ามะโอ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ริมฝั่งน้ำยาว
ห่างจากบ้านทุ่งฆ้อน ประมาณ 8
กิโลเมตร
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบ้านสบสวรรค์
บ้านน้ำยาวหมู่ 3 มีชื่ออย่างนี้
เพราะอยู่ใกล้ลำน้ำยาว
บ้านน้ำยาวในสมัยก่อนมีประมาณ
10 ครัวเรือนอยู่ใกล้บริเวณริมน้ำยาว เพราะสะดวกในการทำมาหากิน
ต่อมามีคนมากขึ้นจึงได้ขยายบ้านมาทางที่โรงเรียนตั้งอยู่มากขึ้น มีการสร้างวัด
โรงเรียน สถานีอนามัย สถานีตำรวจ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533
ได้มีการแยกบ้านน้ำยาวออกเป็น
2 หมู่บ้านคือบ้านน้ำยาว หมู่ที่
3 บ้านน้ำดอนน้ำยาว หมู่ที่
10 (แต่เดิมชื่อวิไลลึก) ต่อมาตอนหลัง
เปลี่ยนเป็นบ้านดอนน้ำยาวเหมือนเดิม
ปัจจุบัน มีประชากรเป็นชาย 310
คน หญิง 283 คน
รวมทั้งสิ้น 593 คน และมีนายสุบรรณ ณรินทร์
เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านทุ่งกลางหมู่ 4 เป็นหมู่บ้านเล็กๆ
หมู่บ้านหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำต้อ เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2288
มีประชากรทั้งหมดประมาณ 10 ครัวเรือน
สมัยนั้นยังไม่มีใครทราบว่าผู้นำหมู่บ้านเป็นใคร ต่อมาจนกระทั่งปีพุทธศักราช 2440
ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่บ้านคือ
นายสอน อุดนัน ต่อมานายสอน
อุดนัน ได้นำราษฎรในหมู่บ้านสร้างอารามขึ้นโดยมีพระครูบาการินตา เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งกลาง ปัจจุบัน
มีประชากรเป็นชาย 235 คน
หญิง 254 คน รวมทั้งสิ้น
489 คน และมีนายบุญชื่น วงสุยะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกอกหมู่
5 แต่เดิมมีชื่อว่า
บ้านเหล่าหรือบ้านร้องเย็น
โดยแต่เดิมเมื่อประมาณปี
พ.ศ.2460
ได้มีการอพยพครอบครัวมาจากบ้านทุ่งเฮ้า
มีนายกันต์ สายแปง เป็นผู้นำ
มีประชากรประมาณ 15 ครัวเรือน
ต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้นหมู่บ้านก็มีการขยายขนาดเรื่อยมาจนกระทั่ง ถึงปี
พ.ศ. 2483 ที่ตั้งของหมู่บ้านเดิมได้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมทำให้บ้านเรือนและไร่นาของราษฎรเกิดความเสียหาย
จึงได้อบยพครอบครัวมาทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเดิมก็คือที่ตั้งของหมู่บ้านปัจจุบันแล้วมีการเปลี่ยนหมู่บ้านมาเป็นบ้านกอกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
มีประชากรเป็นชาย 237 คน หญิง
224 คนรวมทั้งสิ้น 461
คนและมีนายเดช หน่อไชย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านทุ่งเฮ้าหมู่ 6 ก่อตั้งเมื่อปี 2420
ชื่อเดิมบ้านทุ่งข้าวห้าวหรือหมู่บ้านทุ่งข้าวแห้ง โดยมีผู้สืบสกุลในหมู่บ้านเพียงสองสกุล คือ นันศิริ
และไชยหาญ
ส่วนนามสกุลอื่นๆย้ายมาจากที่อื่น
ต่อมาราษฎรในหมู่บ้านได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านทุ่งข้าวห้าวเป็นบ้านทุ่งเฮ้าจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีประชากรเป็นชาย 271
คน หญิง 219 คน
รวมทั้งสิ้น 490 คน และนายเอกพงศ์ โกศิริ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านห้วยหาดหมู่ 7 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1
พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
ตามนโยบายของจังหวัด
และพตท.ที่ 32 เพราะเดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นที่อาศัยของ ผกค.
ทหารต้องการให้ ผกค. หมดไป
จึงได้ประกาศรับสมัครชาวบ้านจากพื้นที่
ต.อวน ต.ศิลาเพชร อ.ปัว
และตำบลดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน
เข้าไปอยู่
โดยการสนับสนุนช่วยเหลือจากทางราชการ
รวบรวมได้ 120 ครัวเรือน
ต่อมาราษฎรที่อพยพเข้าไปอยู่บางรายได้รับบาดเจ็บจากกับดักระเบิดที่ ผกค.
ฝังไว้ ทำให้ขวัญเสีย ได้ย้ายกลับบ้านเดิมเป็นจำนวนมาก คงเหลือแต่บางส่วน และแบ่งเป็น
2 หมู่บ้านคือ บ้านห้วยหาด หมู่ที่
7 และบ้านหลักลาย หมู่ที่
8
ต่อมาเมื่อทางทหารได้มีการกู้กับดักระเบิดให้หมดไปทางราษฎรจากพื้นที่ต่างๆจึงกลับเข้าไปอยู่อีกปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด 26
ครัวเรือน เป็นชาย 54
คน เป็นหญิง 48 คน รวมทั้งสิ้น 102
คนและนายประชุม ล้วนปวน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหลักลาย หมู่ที่
8 เริ่มตั้งเป็นหมู่บ้าน เมื่อวันที่
1 พฤศจิกายน 2523
ตามนโยบายของทางราชการที่จะสร้างถนนไปสู่ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลบ่อเกลือเหนือ (อำเภอบ่อเกลือในปัจจุบัน) และเป็นถนนสายยุทธศาสตร์ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์โดยตั้งหมู่บ้านห้วยหาดหมู่ที่ 7
และบ้านห้วยหลักลาย หมู่ที่ 8
บนถนนสายนี้ระหว่าง
กิโลเมตรที่ 43 - 45 ปัจจุบันมีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 22
ครัวเรือน เป็นชาย 50
คน เป็นหญิง 35 คน รวมทั้งสิ้น 85 คน
บ้านไร่พัฒนา หมู่ที่
9 ตำบลอวน อำเภอปัว
จังหวัดน่าน
ได้รับอนุมัติให้แยกจากการปกครองจากบ้านไร่ หมู่ที่
1 เมื่อวันที่ 9 เดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2526 เนื่องด้วยบ้านไร่หมู่ที่ 1
เดิมเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีจำนวนประชากรหนาแน่นมีความยากลำบากในการปกครอง อีกประการหนึ่ง บ้านไร่
หมู่ที่ 1 ได้รับอนุมัติให้เป็นหมู่บ้าน อ.พ.ป.
ทางคณะกรรมการหมู่บ้าน
ได้ร่วมประชุมกัน มีมติว่า ควรแยกบ้านไร่ออกเป็น 2
หมู่บ้าน คือ บ้านไร่หมู่ที่ 1
และบ้านไร่พัฒนา หมู่ที่ 9
ต่อมา บ้านไร่พัฒนา ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง เป็นหมู่บ้านในโครงการ หมู่บ้าน
อ.พ.ป. เมื่อวันที่ 5
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2517
เป็นต้นมา
บ้านดอนน้ำยาวหมู่ที่ 10 ได้แยกตัวเองออกมาจากบ้านน้ำยาว เมื่อ
พ.ศ. 2533 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายศรี
กะรัตน์ ต่อมาได้สร้างวัดขึ้น เมื่อวันที่
8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.
2534
ต่อมาผู้ใหญ่บ้านได้ลาออก
จึงได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่
คือ นายถา ไชยตัน
ดำรงตำแหน่งได้ประมาณ 6 เดือนก็ลาออก
เมื่อ พ.ศ. 2535
และได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่อีกคือ
นายจันทร์ พรมนิมิต ต่อมาได้ลาออก
จึงได้เลือกตั้งนายมงคล ไชยตัน อีก
ต่อมาได้ลาออกจึงได้เลือกตั้งนายเสน่ห์
มีบุญ
เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน
บ้านดอนน้ำยาวมีประชากร ชาย 344
คน หญิง 330
คน รวมทั้งสิ้น 674 คน
บ้านทุ่งใหม่หมู่ 11ได้แยกออกมาจากบ้านทุ่งเฮ้า เมื่อวันที่
5 เดือน ธันวาคม
พ.ศ. 2538 ปัจจุบันบ้านทุ่งใหม่มีจำนวนครัวเรือน 120
ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 425
คน เป็นชาย 204 คน เป็นหญิง
221 คนและนายวิโรจน์ อุดนัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ
1 แห่ง
- รถดับเพลิง 1
คัน
การคมนาคม การคมนาคมทางบกในพื้นที่ตำบลอวน
มี 2 สาย ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักได้แก่
1.
ถนนสายปัว – น้ำยาว
เป็นเส้นทางที่ตัดผ่านทุกหมู่บ้านเป็นเส้นทางที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด
2.
ถนนสายน่าน-น้ำยาว
ทรัพยากรธรรมชาติ
ลำห้วย,ลำน้ำ จำนวน
20 สาย
บึง,หนอง จำนวน -
แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลอวนมีทรัพยากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตรและที่ท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์
สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
มีดังนี้
น้ำตกตาดหลวง บริเวณบ้านทุ่งใหม่ หมู่ที่ 11
ตำบลอวน
น้ำตกตาดเหมย บริเวณบ้านทุ่งกลาง หมู่ที่ 4
ตำบลอวน
น้ำตกห้วยมัด บริเวณบ้านไร่
หมู่ที่ 1 ตำบลอวน
เขตอนุรักษ์พันธ์ปลาลำน้ำยาว บริเวณบ้านดอนน้ำยาว หมู่ที่
10 ตำบลอวน
กลุ่มทอผ้าสีธรรมชาติ บริเวณบ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7 และบ้านหลักลาย
หมู่ที่ 8 ตำบลอวน
แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ บริเวณบ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7 และบ้านหลักลาย
หมู่ที่ 8 ตำบลอวน
ศูนย์การเรียนชุมชน
ชื่อศูนย์การเรียนชุมชน
|
ที่ตั้ง
|
ผู้รับผิดชอบ
|
โรงทอผ้าสีพื้นเมือง
- ย้อมสีธรรมชาติ
บ้านหลักลาย -
ห้วยหาด
|
หมู่ที่ 7 บ้านห้วยหาด
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
นางนัยนา ฑีฆาวงค์
|
ผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้า
|
21 บ้านหลักลาย หมู่
8 ตำบลอวน อำเภอปัว
จังหวัดน่าน
|
นางสาวบัวตอง
ต๊ะอาจ
|
การเลี้ยงไก่ไข่
|
บ้านดอนน้ำยาว หมู่ 10 ตำบลอวน
อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
นายลอย พรมคำ
|
ภูมิปัญญาท้อถิ่น
(1)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดีดพิณ-สีสะล้อ
ชื่อ – สกุล นายผ่อง ต๊ะแก้ว
ที่อยู่ เลขที่ 56 หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งใหม่
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์
-
(2)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดีดพิณ-สีสะล้อ
ชื่อ – สกุล นายเลย พรมคำ
ที่อยู่ เลขที่ 24 หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งฆ้อน
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์
-
(3)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ซอคำเมือง
ชื่อ – สกุล นางคำหมั้น เตชะ
ที่อยู่ เลขที่ 95 หมู่ที่ 5 บ้านกอก
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(4)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น การจักสาน
ชื่อ – สกุล . นายเปล่ง คันทะลือ
ที่อยู่ เลขที่ 117 หมู่ที่ 7 บ้านห้วยหาด
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(5)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น จ๊อย ค่าว
ซอ
ชื่อ – สกุล นายบุญลอย ธรรมดุลย์
ที่อยู่ เลขที่ 65 หมู่ที่ 9 บ้านไร่พัฒนา
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(6)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น จักสาน
ชื่อ – สกุล นายเสาร์ นรินทร์
ที่อยู่ เลขที่ 42 หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งฆ้อน
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(7)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น จักสาน
ชื่อ – สกุล นายเสาร์ นรินทร์
ที่อยู่ เลขที่ 42 หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งฆ้อน
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(8)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น เล่นดนตรีพื้นเมือง
ชื่อ – สกุล นายจำนง ทิปะกะ
ที่อยู่ เลขที่ 3 หมู่ที่ 8 บ้านหลักลาย
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(9)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ
ชื่อ – สกุล นายสำราญ นันศิริ
ที่อยู่ เลขที่ - หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งใหม่
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(10)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ปุ๋ยหมักชีวภาพ
ชื่อ – สกุล นายสมัคร ธรรมดุล
ที่อยู่ เลขที่ - หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งใหม่
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(11)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงกลั่นสุราพื้นบ้าน(สัญลักษณ์ขุนน้ำยาว)
ชื่อ – สกุล นายพุฒ พรมนิมิตร
ที่อยู่ เลขที่ 75 หมู่ที่ 10 บ้านดอนน้ำยาว ตำบลอวน
อำเภอปัว จังหวัดน่าน
โทรศัพท์ -
(12)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงกลั่นสุราพื้นบ้าน(สัญลักษณ์ชาวนาอวน)
ชื่อ – สกุล นายปัน ชัยกันทะ
ที่อยู่ เลขที่ 100 หมู่ที่ 9 บ้านไร่พัฒนา
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(13)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงกลั่นสุราพื้นบ้าน(สัญลักษณ์เพชรดอยผาแต้ม)
ชื่อ – สกุล นายปัน ชัยกันทะ
ที่อยู่ เลขที่ 64 หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งกลาง
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(14)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงกลั่นสุราพื้นบ้าน(สัญลักษณ์ริมอวน)
ชื่อ – สกุล นายประหยัด นันศิริ
ที่อยู่ เลขที่ 71 หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งใหม่
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(15)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเพาะเห็ดนางฟ้า-นางรม
ชื่อ – สกุล นางสะอิ้ง อุดพรม
ที่อยู่ เลขที่ - หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งใหม่
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
(16)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทำไม้กวาดดอกหญ้า
ชื่อ – สกุล นางขันแก้ว ทิปะกะ
ที่อยู่ เลขที่ - หมู่ที่ 7,8 บ้านห้วยหาด,หลักลาย ตำบลอวน
อำเภอปัว จังหวัดน่าน
โทรศัพท์ -
(17)
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทอผ้าพื้นเมืองและย้อมสีธรรมชาติ
ชื่อ – สกุล นางถนอม ใหม่น้อย
ที่อยู่ เลขที่ - หมู่ที่ 7,8 บ้านห้วยหาด,หลักลาย ตำบลอวน
อำเภอปัว จังหวัดน่าน
โทรศัพท์ -
(18) ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น การแปรรูปอาหารจากสัตว์(น้ำพริกชนิดต่างๆ)
ชื่อ – สกุล นางอุไร บุญทอง
ที่อยู่ เลขที่ 106 หมู่ที่ 1 บ้านไร่
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โทรศัพท์ -
แหล่งเรียนรู้อื่น
ชื่อแหล่งเรียนรู้อื่น
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
|
แหล่งเรียนรู้
|
อบต.อวน หมู่ที่ 1 ต.อวน
|
วัดทุ่งเฮ้า
|
โบราณสถาน (วัด)
|
บ้านทุ่งใหม่ หมู่ที่ 6 ต.อวน
|
วัดทุ่งกลาง
|
โบราณสถาน (วัด)
|
บ้านทุ่งกลาง หมู่ที่ 4 ต.อวน
|
วัดไร่
|
โบราณสถาน (วัด)
|
บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ต.อวน
|
วัดทุ่งฆ้อน
|
โบราณสถาน (วัด)
|
บ้านทุ่งฆ้อน หมู่ที่ 2 ต.อวน
|
วัดน้ำยาว
|
โบราณสถาน (วัด)
|
บ้านน้ำยาว หมู่ที่ 3 ต.อวน
|
วัดดอนน้ำยาว
|
โบราณสถาน (วัด)
|
บ้านดอนน้ำยาวหมู่ที่ 10 ต.อวน
|
น้ำตกตาดหลวง
|
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
บ้านทุ่งใหม่ ม. 11
ต. อวน
|
ภาคีเครือข่าย
ชื่อภาคีเครือข่าย
|
ที่ตั้ง/ที่อยู่
|
1.
องค์การบริหารส่วนตำบลอวน
|
บ้านไร่
หมู่ 1ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
2.
โรงพยาบาลสิ่งเสริมสุขภาพตำบลอวน
|
บ้านไร่
หมู่ 1ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
3.
โรงเรียนบ้านไร่
|
บ้านไร่
หมู่ 1ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
4.
โรงเรียนบ้านทุ่งเฮ้า
|
บ้านทุ่งเฮ้า
หมู่ 6ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
5.โรงเรียนบ้านน้ำยาว
|
บ้านน้ำยาว
หมู่ 3
ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอวน
|
บ้านทุ่งกลาง
หมู่ 4ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
7.กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
|
ที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 1ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
|
8.วัดในตำบลอวน
|
ตำบลอวน อำเภอปัว
จังหวัดน่าน
|
9.สถานีตำรวจภูธรอวน
|
สถานีตำรวจภูธรอวน อำเภอปัว
จังหวัดน่าน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น